ประวัติโรงเรียนวัดประตูใหญ่
โรงเรียนวัดประตูใหญ่ ตั้งอยู่ บ้านชายวัดหมู่ที่ 8 ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เริ่ม จัดตั้ง อบรมสั่งสอนบุตรหลานของชาวเสวียดในต้นปี พ.ศ. 2461โดยใช้ศาลาเปรียญธรรมของวัดประตูใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ. 2503ได้รับงบประมาณจากทางราชการ สมทบกับราษฎรจัดสรรอาคารเรียนถาวรใน พื้นที่ของโรงเรียนปัจจุบัน และเปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้น ป.7 ในช่วงต่อมา
ปี พ.ศ. 2523 ได้โอนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรใหม่ เปิดสอนชั้น ป. 1-6 พร้อมขยายชั้นเรียนระดับก่อนประถมฯ ในปีการศึกษา 2530
ปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.202/26 ขนาด 120 ตรม. จำนวน 1 หลัง และต่อมาได้รับการอนุมัติให้รื้อถอนอาคารเรียนหลังแรก เนื่องจากชำรุดและในปีนี้ได้จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี ได้เงินขุดเจาะบ่อบาดาล และสร้างถังประปา ขนาดสูง 7 เมตร งบประมาณกว่า 70,000 บาท พร้อมติดตั้งพัดลมเพดานและถังน้ำเย็นในทุกชั้นเรียน
ปี พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณ จัดสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105 จำนวน 2 ชั้น เพียง 7 ห้องเรียน งบประมาณ 1,850,000 บาท และได้รับการสนับสนุนจาก คุณณรงค์ เสมียนเพชร และคณะญาติ ต่อเติมอาคารใหม่อีก 1 ห้อง เพื่อใช้เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นเงินกว่า 50,000 บาท
ปีการศึกษา 2539 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องปฏิรูปการศึกษา ได้รับการจัดสรรสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา ( SOUND LAB ) 1 ห้อง พร้อมครุภัณฑ์ ขนาด 20 ที่นั่งเรียน เป็นเงิน 300,000 บาท และทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมหาเงิน สร้างป้ายโรงเรียนพร้อมรั้วถาวร อีก1 ด้าน ใช้งบประมาณกว่า 70,000 บาท
ปีการศึกษา 2539 ได้รับการปรับปรุงตำแหน่ง ผู้บริหารจากอาจารย์ใหญ่ เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2540 ได้รับการจัดสรรงบประมาณสร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ 6 ชุด ด้วยงบประมาณ 300,000 บาท จัดสร้างห้องวิทยาศาสตร์พร้อมครุภัณฑ์ อีก 1 ห้อง ใช้งบกว่า 280,000 บาท
ปีงบประมาณ 2541 ได้จัดกิจกรรมสร้างส้วม 4 ที่นั่ง เงิน 25,000 บาท สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียน งบประมาณกว่า 120,000 บาท
ปี พ.ศ. 2542 ทางโรงเรียนได้เปิดสอนหลักสูตรคอมพิวเตอร์ และจัดกิจกรรมหารายได้ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ฐานเสาธง ลานหญ้าหน้าอาคาร ลานกีฬา พร้อมจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมอีก 4 ชุด จากการบริจาคของ นายช่วง กรรณเมือง คุณครูวิเชียร ผลิวรรณ คุณครูสมผล โสภาผล อาจารย์น้อม ถาวโร และอาจารย์เม้ง สุนทโร
ปี พ.ศ. 2545 ได้รับเงินสมทบจาก คุณห้วน กรรณเมือง และลูก ๆ เป็นเงิน 10,000 บาท จัดสร้างป้ายประชาสัมพันธ์หน้าอาคาร 1 ป้าย งบประมาณกว่า 14,000 บาท
ปี 2547 ได้จัดกิจกรรมระดมทุนอีกครั้งหนึ่ง ได้เงินและวัสดุ เครื่องคอมพิวเตอร์ จัดสร้างศูนย์การเรียนประชาร่วมใจ ใช้งบประมาณ กว่า 500,000 บาท เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ประตูหน้าต่างกระจก ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ พื้นกระเบื้องเซรามิค ขนาด 8 / 24 เมตร
ปี 2548 จัดกิจกรรมระดมทุนสร้างสื่ออุปกรณ์ และปูกระเบื้องพื้นอาคารเรียน 3 และ 4 ทุกชั้นเรียน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภค ใช้งบประมาณกว่า 400,000 บาท
ปี 2549 จัดกิจกรรมระดมทุน สร้างรั้ว และปรับปรุงพื้นโรงอาหาร ใช้งบกว่า 230,000 บาท
ปี 2550 จัดสร้างฐานพระพุทธรูป หน้าอาคารเรียน ใช้เงินกว่า 45,000 บาท ปรับปรุงอาคารเรียนเป็นห้องจัดกิจกรรมพร้อมเวทีการแสดงของนักเรียน ขนาด 2 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์สื่อเทคโนโลยี โต๊ะเก้าอี้ ใช้งบกว่า 40,000 บาท พร้อมติดตั้งระบบโทรทัศน์รับสัญญาณจากจานดาวเทียม ในทุกห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ
ปี 2551 จัดกิจกรรม 90 ปี โรงเรียนวัดประตูใหญ่ ทอดผ้าป่าการศึกษา จัดสร้างเหรียญที่ระลึก อาจารย์เหล็ก อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูใหญ่ และผู้อุปการะโรงเรียน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ได้เงินสนับสนุนกว่า 400,000 บาท หักค่าใช้จ่ายคงเหลือ 330,000 บาท นำมาพัฒนาภูมิทัศน์และซ่อมแซมอาคาร แหล่งเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ต้นแบบโรงเรียนดีที่อยู่ใกล้บ้าน
ปี 2552 ได้ปรับปรุงห้องกิจกรรมนักเรียน ฐานพระพุทธรูป ฐานเสาธงใหม่ สร้างสะพานเชื่อมต่ออาคารชั้น 2 เงิน 50,000 บาท จัดสร้างสระว่ายน้ำในโรงเรียน เงิน กว่า 360,000 บาท พร้อมจัดหารถตู้ไว้บริการครู นักเรียน 1 คัน เงิน 320,000 บาท และจัดสอนว่ายน้ำในทุกชั้นเรียนทุกสัปดาห์ โดยจ้างครูสอนว่ายน้ำ 1 คน
ปี 2553 ได้ปรับปรุงห้องศูนย์วัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ภาษาไทย พร้อมติดตั้งสื่อเทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดสร้างลานกีฬาคอนกรีตขนาดพื้นที่ กว่า 850 ต.ร.ม. งบกว่า 240,000 บาท พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิด 8 กล้องทั่วบริเวณอาคาร ได้รับการประเมินเพื่อรับรองโรงเรียนต้นแบบในฝัน โรงเรียนดีประจำอำเภอ และผ่านการประเมินมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับ เพชร ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปี 2554 ได้ปรับปรุงห้องโสตฯ เป็นพื้นต่างระดับ พร้อมเก้าอี้ชุด พร้อมเครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องปรับอากาศ ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องภาษาอังกฤษ ห้องละ 2 ชุด
ต้นปีการศึกษา 13-15 มิถุนายน 2554 ได้รับการประเมินภายนอก รอบ 3 จาก ผู้ประเมินภายนอก(สมศ)
ปี 2554 ข้าราชการครูลาออกก่อนกำหนด 2 ท่าน คือ อ.โสภณ พาหมะ และ อ.เรืองศรี รัตนอุทัยกูล
ปัจจุบัน โรงเรียนเปิดทำการสอน ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมปีที่ 6 จำนวน 13 ห้องเรียน นักเรียนกว่า 325 คน ครูประจำการ 19 คน ครูพิเศษ 3 คน นักการฯ ไม่มี อาคารเรียน 4 หลัง มีห้องเรียน/ห้องพิเศษ 23 ห้อง จัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องปฏิบัติการ 5 ห้อง คือ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องภาษาไทย ห้องภาษาอังกฤษ ห้องออกกำลังกาย ห้องกิจกรรมนักเรียนและศูนย์การเรียนโดยใช้โทรทัศน์รับสัญญาณจากจานดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล อำเภอหัวหิน ได้ทุกห้องเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียนคือ นายวิโรจน์ วัฒนโสภา ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียนนี้มา ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2535 - 2554
ต่อมาปีการศึกษา 2555 นายสงัด ออมสิน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2557
ต่อมาปีการศึกษา 2557 นายสมชาย จินตนพันธ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2559
ต่อมาปีการศึกษา 2559 นางพิมลรัตน์ อิ่มแสวง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2563
ต่อมาปีการศึกษา 2563 นางสาวกมลทิพย์ ศรีเมฆ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2564
วันที่ 30 ก.ย. 2563 ได้งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ จำนวน 458,500 บาท
วันที่ 30 ม.ค. 2564 ได้งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น จำนวน 445,000 บาท
วันที่ 4 มิถุนายน 2564 ได้รับการประเมินภายนอกรอบ 4 จากผู้ประเมินภายนอก (สมศ) ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้รับการอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับอนุบาล 1-ป.6
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้รับการจัดสรรงบประมาณโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล งบประมาณอุปกรณ์พัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 59,800 บาท อุกรณ์ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ประถมศึกษา) จำนวน 126,000 บาท และโต๊ะเก้าอี้นักเรียนระดับประถมศึกษา 100 ชุด จำนวน 158,000 บาท
ต่อมาปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 นางสาวสุภาพร บุญสนอง มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน